9หลุมพรางในการเลือกประกันอัคคีภัยบ้าน




7 หลุมพรางในการเลือกประกันอัคคีภัยบ้าน


สำหรับผู้ที่มีบ้านแล้วได้เคยซื้อประกันบ้านมา อาจจะเจอปัญหาในการเลือกประกันบ้าน ซึ่งอาจจะด้วยความไม่เข้าใจดี หรือว่า อาจจะได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมา วันนี้ทาง Smile Broker เลยจะมานำเสนอบทความ 7 หลุมพรางในการเลือกปรกันอัคคีภัยบ้าน

1. การเลือกให้เท่าราคาบ้าน

อย่าลืมนะคะว่าบ้านที่เราซื้อมานั้น จะมีราคาบ้าน พร้อมกับราคาที่ดิน เช่นบ้านราคา 5 ล้านบาท ที่ดินอาจจะราคา 1 -2 ล้านบาท ทำให้ราคาบ้านนั้นเหลือแค่ 3-4 ล้านบาท เวลาที่เราทำประกันบ้านเราไม่จำเป็นต้องเอาส่วนที่เป็นที่ดินเข้าไปคำนวนนะคะ เพราะว่าหากเกิดเหตุเช่นไฟไหม้ หรือน้ำท่วม ที่ดินก็ยังคงอยู่ และในการชดเชยนั้นทางบริษัทประกันก็จะชดเชยในส่วนที่เสียหายเท่านั้น ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องทำเท่าราคาบ้าน ยังไงลองคำนวนโดยการหักราคาที่ดินออกไปก่อนจะได้ราคาที่เหมาสมมากขึ้น

2. เลือกภัยไม่เหมาะสมกับสภาวะจริง

สำหรับบางคนนั้นอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบางอย่างแต่กลับไปทำอีกอย่างที่ไม่เหมาะสมกัน เช่นว่า อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วม กลับไม่ทำน้ำท่วมไว้ หรือกลับกันไม่เคยมีปัญหาเรื่องน้ำท่วมแม้จะเป็นปี 2554 ที่เป็นปีที่น้ำท่วมหนักทั่วประเทศ แต่ดันทำประกันภัยน้ำท่วมซะเยอะ ซึ่งในมุมนึงก็เป็นเรื่องดีเพราะอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ แต่ในมุมนึงก็จะทำให้เบี้ยประกันบ้านสูงขึ้นเปล่าๆ ทางที่ดี ในฐานะเราที่เป็นเจ้าของบ้าน เราควรวิเคราะห์ดูว่า ภัยไหนที่เหมาะสมควรจะทำ


3. ทุนสูงเกินจริง

คล้ายๆกับข้อ 1 แต่บางครั้งความเข้าใจเกี่ยวกับประกันบ้านนั้นคือ ทำเท่าไรชดเชยเท่านั้น อันนี้ก็จริงนะคะแต่มีวงเล็บไว้ว่า ชดเชยเท่าความเสียหายจริงไม่เกินทุนที่ทำประกัน สมมติว่าบ้านราคา 3 ล้านบาท ทำประกันบ้าน 10 ล้านบาท สมมติไฟไหม้บ้านเสียหายทั้งหลัง ทางบริษัทประกันก็จะชดเชย 3 ล้านบาท ไม่ใช่ 10 ล้านบาทนะคะ ดังนั้นอย่าทำทุนประกันสูงเกินจริง เพราะนอกจากจะเสียเบี้ยแพงแล้วการชดเชยยังไม่เกินมูลค่าความเป็นจริงด้วยค่ะ


4. ทุนต่ำเกิน

ตรงข้ามกับข้อ 3 ทำทุนไว้ต่ำเกิน สมมติว่าบ้าน 3 ล้านบาท ทำทุนไว้ 1 ล้านบาท ไฟไหม้บ้านแล้วเสียหาย 1 ล้านบาทพอดีเลย ประกันจะไม่ได้จ่าย 1 ล้านบาทนะคะ เพราะว่าในกรณีนี้ทำไว้ต่ำกว่ามูลค่าบ้านจริงๆ คือแค่ 1/3 ของราคาบ้านเท่านั้น ดังนั้นหากเกิดเหตุไฟไหม้ค่าเสียหาย 1 ล้านบาททางบริษัทประกันก็จะชดเชยไว้แค่ 1/3 ของ 1 ล้านบาทเท่านั้นเอง ทางที่ดีจะขอแนะนำให้ทำให้เหมาะสมกับราคาบ้านดีกว่าค่ะ


5. เจ้าหน้าที่ดูแล

หลายๆกรณี เจ้าหน้าที่ดูแลไม่มีความรู้ความสามารถจริงๆ ทำให้อธิบายรายละเอียดต่างๆให้กับทางลูกค้าและเจ้าของบ้านได้ไม่ถูกต้อง และเมื่อถึงเวลามีเหตุการณ์ต้องเคลม ทำให้ลูกค้าหรือเจ้าของบ้านเสียผลประโยชน์ไปอย่างน่าเสียดาย นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ดูแลที่มีความรู้ความสามารถจะสามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้อง พร้อมสามารถเปรียบเทียบรายละเอียดที่เหมาะสมให้กับทางลูกค้า/เจ้าของบ้านได้ดีกว่า


6. เคลมยาก

อันนี้เป็นหลุมพรางนึงเลยค่ะ ไม่ว่าจะประกันภัยรถยนต์หรือประกันบ้าน บางทีการเลือกบริษัทประกันที่ให้เบี้ยภัยถูกมากๆ อาจจะตามมาด้วยบริการหลังการขายที่ไม่ดี ทางที่ดีควรเลือกจากบริษัทประกันที่น่าเชื่อถือได้ ในราคาที่เหมาะสม เพราะว่าบริษัทประกันภัยเหล่านี้จะไม่มีปัญหากับผู้รับเหมาหรืออู่ต่างๆ เช่นว่าจ่ายเงินชดเชยหรือค่าบริการให้กับอู่/ผู้รับเหมาเร็วทำให้ทางอู่/ผู้รับเหมา ยินดีที่จะให้บริการการเคลมที่เร็วและจะรีบบริการลูกค้า เพราะสามารถเรียกเก็บเงินได้จากบริษัทประกันได้เร็ว


7. แพงเกินจริง

หากการทำประกันภัยบ้านหรือประกันภัยรถยนต์นั้น สิ่งที่ควรทำคือการเปรียบเทียบ การได้เปรียบเทียบแบบประกันภัยจากหลายๆบริษัท ทำให้สามารถได้เลือกแบบประกันบ้านที่ดีที่เหมาะสมที่สุดกับลูกค้า/เจ้าของบ้านแต่ละราย โบรคเกอร์จะเป็นทางเลือกที่ดี และโบรคเกอร์ที่มีบริษัทประกันภัยในมือเยอะมากกว่าจะได้ประโยชน์จากข้อนี้มากกว่า


8. มีค่าส่วนแรก

ค่าส่วนแรกหรือ deduct นั้นคือค่าใช้จ่ายส่วนแรกที่ลูกค้าจำเป็นต้องจ่ายก่อนเมื่อเกิดเหตุการณ์การเคลมใดๆเกิดขึ้น ในหลายๆกรณีทางบริษัทประกันจะให้เบี้ยประกันภัยที่ถูก แต่คิดค่า deduct แพงๆทำให้หลายครั้งลูกค้าตกหลุมพรางตรงนี้เมื่อเกิดการเคลมขึ้นทำให้ต้องเสียค่าเสียหายส่วนแรก บวกลบกันแล้วกลับแพงกว่าเบี้ยที่แพงกว่าแต่ไม่มีค่า deduct หรือ deduct ต่ำๆ

9. ถูกธนาคารจับยัด

ส่วนใหญ่แล้วธนาคารจะบังคับให้เราทำประกันบ้านมาพร้อมกับเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย แต่ว่า เราสามารถคุยและต่อรองกับธนาคารเหล่านั้นได้ ขอให้เป็นรายละเอียดที่เหมาะสมกับบ้านของเรา เพราะในหลายๆกรณี ทางธนาคารจะใส่เบี้ยให้แพงๆไว้ เพราะรู้ว่าลูกค้านั้นไม่เข้าใจเรื่องประกันบ้านมาก ทางที่ดีเราควรเลือกแบบประกันบ้านให้เหมาะสมและราคาเบี้ยจะถูกกว่าที่ธนาคารบังคับให้ทำเยอะ นอกจากนี้ หากธนาคารไม่ได้บังคับให้ทำ 3 ปี หรือให้ทำแค่ 1 ปี หลังจากนั้นลูกค้า/เจ้าของบ้านสามารถไปต่อประกันบ้านที่อื่นได้ โดยไม่มีข้อกำหนด หรือหากทำประกัน 3 ปีแรกกับธนาคาร หลังจาก 3 ปีก็สามารถทำกับที่อื่นเพื่อเปรียบเทียบราคาได้เช่นกัน ทางธนาคารจะพยายามบอกว่าต้องต่อกับธนาคาร แต่จริงๆแล้วไม่จำเป็นค่ำ

นี่ก็เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เอามาฝากแฟนๆ Smile Insurance Broker กันค่ะ หวังว่าจะมีประโยชน์นะคะ หากคิดว่ามีประโยชน์สำหรับเพื่อนๆคนรู้จักก็สามารถกด share ส่งต่อไปยังคนอื่นๆและเพื่อนที่คิดว่ามีประโยชน์ได้ค่ะ
>>>>>หรือหากสนใจต้องการสอบถามรายละเอียด ทำการเปรียบเทียบรายละเอียดประกันอัคคีภัยบ้าน ที่ครอบคลุมทุกภัย ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ น้ำท่วม พายุ แผ่นดินไหว ลูกเห็บ โจรกรรม ครบทุกภัย โดยที่ปรึกษาประกันภัยมืออาชีพ สามารถติดต่อได้ที่ 097 297 9525 

Leave a Comment