อัคคีภัยกับการป้องกันอัคคีภัย


อัคคีภัยกับการป้องกันอัคคีภัย


อัคคีภัยคืออะไร


อัคคีภัยคือภัยที่เกิดจากไฟติดต่อลุกลามไปตามบริเวณที่มีเชื้อเพลิงและลุกไหม้ต่อเนื่องและในกรณีที่แย่จะทำให้เกิดการติดต่อลุกลามมากยิ่งขึ้นถ้าหากการลุกไหม้ มีเชื้อเพลิงหนุน หรือมีไอของเชื้อเพลิงถูกขับออกมามาก ความร้อนแรงก็จะมากยิ่งขึ้น

สาเหตุอัคคีภัย


1 สาเหตุจากความประมาท เลินเล่อในการไม่ระมัดระวังการใช้ไฟ ไม่ว่าจะเป็นการทิ้งก้นบุหรี่ไม่เป็นที่ การเผาขณะโดยขาดการควบคุมดูแลที่ดี การหุงต้มอาหารแล้วลืม การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ถูกกับกระแสไฟ ความประมาทเหล่านี้หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอัคคีภัยได้

2 สาเหตุจากอุบัติเหตุจากก๊าซหุงต้มรั่ว หรือแก๊สรั่ว เมื่อเจอประกายไฟแล้วจะทำให้เกิดการลุกไหม้หรือการระเบิดได้อย่างรวดเร็ว

3 การลอบวางเพลิง จากความตั้งใจให้เกิดอัคคีภัยไม่ว่าจะสาเหตุอะไรก็สามารถทำให้เกิดความเสียหายจากอัคคีภัยได้

4 ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งการเกิดเพลิงไหม้ส่วนใหญ่แล้วจะไม่สามารถหาสาเหตุที่เกิดได้และจะถูกสันนิษฐานว่าเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรแทน

ผลกระทบจากอัคคีภัย


ผลที่เกิดขึ้นจากอัคคีภัยโดยตรงคือการบาดเจ็บและอาจมีผลทำให้เกิดการสูญเสียอวัยวะหรือชีวิตเนื่องจากความร้อนที่ร่างกายเกินจะรับได้ นอกจากนี้อาจจะเกิดความเสียหายแก่อาคารสถานที่ เฟอร์นิเจอร์และสินทรัพย์ต่างๆที่อยู่ในที่อยู่อาศัย หรือในกรณีที่ทำธุรกิจมีออฟฟิตมีโรงงานหรือเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ เมื่อไฟไหม้ จะทำให้ธุรกิจและเครื่องจักรต่างๆ หรือสินค้าในสต็อคเกิดความเสียหาย เครื่องจักรถูกทำลายต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดับเพลิง สต๊อคสินค้าเสียหาย และธุรกิจอาจต้องหยุดชะงักได้

การป้องกัน


1. การจัดระเบียบสิ่งของต่างๆให้เรียบร้อย และทำการแยกสิ่งที่ทำให้ติดไฟง่ายแยกไว้เป็นสัดส่วน ก็จะสามารถลดการลุกลามของไฟไหม้ได้ในเบื้องต้นและสามารถทำให้เด็กเล็กๆไม่สามารถนำอุปกรณ์ที่ไวต่อไฟนำไปเล่นได้อีกด้วย

2. ตรวจตราและซ่อมบำรุงสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สมบูรณ์เพื่อไม่ให้เกิดการลัดวงจรหรือการระเบิดหรือไฟไหม้ได้ รวมถึงการตรวจตราของการรั่วไหลของเชื้อเพลิงต่างๆด้วย

3. ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย ไม่ว่าการจะมีอุปกรณ์เครื่องดับเพลิงติดบ้านหรือโรงงานไว้

4. การศึกษาหาความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและระงับอัคคีภัย โดยการฝึกการใช้อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการดับเพลิง ตลอดจนการเตรียมการฝึกซ้อมอัคคีภัย และมีแผนการปฏิบัติตามแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดเพลิงไหม้

5. ทำการเช็คความเรียบร้อยภายในบ้านอย่างสม่ำเสมอ ว่าธูปเทียนไม่ได้จุดค้างไว้ แก๊สหุงต้มไม่ได้เปิดทิ้งไว้หรือรั่ว เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆไม่มีเสียบปลั๊กหรือเปิดค้างไว้นานๆ

6. อย่าฝ่าฝืนข้อห้ามที่จิตใต้สำนึกพึงระวัง เช่น “อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้นานๆ” อาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้ครับ

7. ขณะเกิดไฟไหม้ โทร.199 ทันที อย่าใช้ลิฟต์ และ เปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทให้ควันไฟได้ระบายออกไปด้านนอกได้

8. หากจำเป็นต้องใส่เหล็กดัดตามประตูหน้าต่างเพื่อกันขโมย ก็ไม่ควรใช้แบบติดตาย แต่ควรใช้แบบเปิดปิดได้ด้วยกุญแจและลูกกุญแจนั้นจะต้องเก็บไว้ ณ ที่ที่หยิบได้ทันทีที่มีเหตุฉุกเฉินเพื่อในกรณีฉุกเฉิน ผู้อยู่อาศัยสามารถเปิดเหล็กดัดและทำการหนีออกจากสถานที่ได้

9. ทำประกันภัยบ้านหรือประกันอัคคีภัยหรือประกันบ้าน เพื่อป้องกันค่าใช้จ่ายต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายของสินทรัยพ์หรือที่อยู่อาศัยที่จะเสียหาย ค่าใช้จ่ายในการดับเพลิง ค่าใช้จ่ายในการรื้อซาก หรือว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ระหว่างการหาที่อยู่อาศัยหรือโรงงานเพื่อใช้ในการอยู่อาศัยหรือใช้งานแทนช่วงที่ทรัพย์สินเสียหาย

เป็นอย่างไรบ้างครับ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์สำหรับการป้องกันอัคคีภัยสำหรับคุณ สำหรับครอบครัวของคุณ และสำหรับที่อยู่อาศัยหรือออฟิตหรือโรงงานของคุณได้ครับ

สนใจประกันภัยรถยนต์ => ประกันภัยรถยนต์

สนใจประกันภัยที่อยู่อาศัย => ประกันภัยที่อยู่อาศัย

สนใจประกันภัยสำหรับธุรกิจ => ประกันภัยสำหรับธุรกิจ

สนใจประกันภัยสุขภาพและอุบัติเหตุ => ประกันภัยสุขภาพและอุบัติเหตุ


สอบถามโปรโมชั่นและเปรียบเทียบราคาฟรี

Tel: 097 297 9525 
(สามารถโทรได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดเสาร์อาทิตย์และวันหยุดราชการ เวลา 8.00 – 18.00 น.)
Email: smile.insurance.broker@gmail.com
Facebook: www.facebook.com/smileinsurancebroker

ที่อยู่สำหรับติดต่อ
720 อาคาร ระเบียงจามจุรี
ซอย 9 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330


Leave a Comment